M E D I C A R E C L I N I C
การรักษาสิว
การรักษาด้วยการกดสิว
การรักษาสิว เป็นไปตาม Step ระยะของสิว
กรณีสิวอุดตันระยะที่ 1 วิธีการง่ายมากที่สุดเลยครับในชั้นต้นจะแนะนำให้ทำการกดสิวออกกรณีเป็นสิวหัวเปิด ลักษณะอาจมองเห็นเป็นรูขุมขนที่เปิดและมีหัวสิวคาอยู่ไม่ว่าจะเป็นสีดำหรือสีขาว กรณีที่เป็นสิวอุดตันยังไม่อักเสบ แต่หัวปิด อาจพิจารณาใช้ปลายเข็มสะกิดสิวและทำการกดออก เมื่อทำการกดสิวแล้วหัวสิวจะหลุดออกไปอาจมีรอยเปิดประมาณ 2-3 ชั่วโมงหรือมีน้ำเหลืองไหลเล็กน้อยรวมทั้งสะเก็ดเลือดเล็กน้อยไม่ต้องตกใจเป็นเรื่องปกติ หลังจากนั้นภายใน 24 ชั่วโมงแผลจะหายสนิทจนแทบไม่เห็นรอยและไม่ทิ้งแผลเป็นไว้เลย ข้อสังเกตนะครับการสะกิดสิว กดสิวจะใช้ในกรณีสิวอุดตันที่ไม่อักเสบเท่านั้นนะครับ ดังนั้นหากตัวผู้ป่วยเองหรือคนไข้เองที่มีสิวอักเสบเป็นเม็ดปวดๆ ไตๆ แข็งๆ เจ็บและสะกิดสิวต้องยอมรับนะครับว่าจะมีรอยแดงช้ำและอาจมีรอยดำหลังจากกดได้
ที่ Medicare Clinic จะค่อนข้างเคร่งครัดในการกดสิวจะเลือกกดเฉพาะเม็ดที่เป็นสิวอุดตันไม่เจ็บไม่แดงไม่มีการอักเสบจะไม่ทิ้งหลุมทิ้งรอยดำไว้เลย จึงอยากจะให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ที่อ่านข้อความว่าการกดสิวไม่มีข้อเสียเลยนะครับเพียงแต่ต้องเลือกก่อนให้ถูกระยะของสิวแทบจะไม่มีข้อเสียเลย Medicare Clinic มีระบบการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ในการกดสิวภายใต้มาตรการปลอดเชื้ออย่างเคร่งครัด มีอาจารย์พยาบาลซึ่งควบคุมการสอนการกดสิวเป็นพยาบาลวิชาชีพผ่านการอบรมอย่างได้มาตรฐานและปลอดเชื้อขอให้มีความสบายใจได้ เครื่องมือแพทย์เครื่องมือกดสิวผ่านการฆ่าเชื้อโดย Autoclave ถูกต้องตามกฎกระทรวงสาธารณสุข
การรักษาด้วยการใช้ยา
กรณีสิวอักเสบระยะ 2-3 หรือ 4 เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียแล้วคงมีความจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ คนทั่วไปอาจเข้าใจผิดว่ายาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะเป็นยาแก้อักเสบเป็นคำพูดที่ติดปากกันไปทำให้เกิดความสับสนน ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ส่วนยาแก้อักเสบเป็นยาที่ลดการอักเสบโดยมิได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่กลุ่มยาลดการอักเสบที่เรียกว่าสเตียรอยด์หรือนอนสเตียรอยด์ดอร์แอนตี้อินเฟรมเบอรี่ว่า NSAID ซึ่งมักจะใช้กับโรคทางกระดูกกล้ามเนื้อหรือการเจ็บปวดที่รุนแรงจึงไม่อยากให้ผู้อ่านเข้าใจสับสนระหว่างยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบ สำหรับยาปฏิชีวนะที่ใช้ในกรณีสิวอักเสบไม่ว่าจะเป็นระยะ 1 2 3 4 มักจะใช้ตั้งแต่ตัวที่อ่อนจนไปถึงตัวที่รุนแรงตั้งแต่ยากลุ่ม Tetracycline / Erythromycin / Cotrimoxazole / Ampicillin / Amoxicillin หากกรณีสิวรุนแรงหรือเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจจำเป็นต้องเพิ่มยากลุ่มยาฆ่าเชื้อ Anaerobic Bacteria ได้แก่ Metroidazole กรณีอักเสบรุนแรงมากอาจมีการใช้ยากลุ่ม NSAID ร่วมด้วยก็ได้แต่อยู่ในการพิจารณาของแพทย์ผู้รักษา
การรักษาด้วยการใช้ยาทาน
การรักษาสิวอักเสบไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 3 4 เนื่องด้วยการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าซึ่งแพทย์คำนึงถึงความสวยงามหรือการหายของบาดแผลหลังการอักเสบผ่านไปคุณหมออาจมีการพิจารณาฉีดสารต้านการอักเสบหรือที่เรียกว่าสเตียรอยด์ โดยจะใช้ 0.1% ไตรแอมป์ซิโนโลนฉีดเข้าตัวบริเวณต่อมไขมันที่อักเสบหรือถุงซิส เรียกว่าการฉีดสิว อย่างไรก็แล้วแต่คุณหมอบางท่านอาจพิจารณาฉีดน้ำเกลือธรรมดาเพื่อเข้าไปลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียให้น้อยลงและเป็นทางระบายของเชื้อแบคทีเรียออกอยู่ในดุลพินิจของแพทย์แต่ละท่านนะครับ อย่างไรก็แล้วแต่ถึงแม้ว่าจะใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าตัวต่อหรือสิวที่อักเสบแพทย์ยังจำเป็นจะต้องให้ยาปฏิชีวนะควบคู่กันไปอยู่ดีเนื่องจากสเตียรอยด์กดการอักเสบเท่านั้นแต่ไม่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
การรับประทานยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะโดยตำราแพทย์ระบุว่าจะต้องรับประทานต่อเนื่องการอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ แต่หากมีการร่วมรักษาระหว่างการสะกิดสิวกดสิวร่วมกับการฉีดสิวอาจมีการให้ยาปฏิชีวนะลดระยะเวลาลงและลดระดับชนิดยาปฏิชีวนะลงก่อน 4-6 สัปดาห์เป็นกรณีกรณีไปอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา
การรักษาด้วยฮอร์โมน
นอกจากนั้นการรักษาสิวด้วยฮอร์โมนคงมีหลายๆ ท่านเคยได้ยินเช่นกัน เช่นเป็นการใช้ยากลุ่มเอสโตรเจนหรือแอนตี้แอนโดรเจนได้แก่ ยาคุมกำเนิด Cyproterone Acetate อยู่ในชื่อการค้าต่างๆ ซึ่งไม่อาจกล่าวชื่อการค้าได้ ฮอร์โมนนั้นจะเป็นการต่อต้านฮอร์โมนเพศชายทำให้การหลั่งกรดไขมันลดลง ทำให้การกระตุ้นเป็นสิวอุดตันลดลงได้ผลดี แต่ข้อเสียคือในกรณีเป็นเพศหญิงอาจทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ ในฐานะ Medicare ค่อนข้างเป็นห่วงและรับผิดชอบเรื่องเพศหญิง การไปรบกวนระบบฮอร์โมนเพศหญิงย่อมมีข้อเสียเช่นกันอาจทำให้ประจำเดือนกะปริบกะปรอย กรณีคนไข้ผู้ชายก็มีผลเรื่องของฮอร์โมนผิดเพศ อาจกระตุ้นให้มีเต้านมโตหรือภาวะ Gynecomastia อีกเช่นกัน นอกเหนือจากกรณีนี้ที่ได้ฮอร์โมนรักษา และคนไข้ไม่ได้รับการตรวจเต้านมหรือเมมโมแกรม ไม่ได้รับการเช็คมะเร็งปากมดลูกหรือ Pap Smear หากมีเซลล์มะเร็งอยู่ในระยะต้นๆ หรือในระยะ 0 ฮอร์โมนอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตและกระจายเปลี่ยนระยะได้ ดังนั้นหากไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่พิจารณาให้ฮอร์โมนในการรักษา
การรักษาด้วยการใช้วิตามิน A
ถามว่ามีการรักษาสิวด้วยวิธีการอื่นไหม จะว่าไปแล้วก็มีครับเช่นการให้กรดวิตามินเอหรือที่เรียกกันว่า Tretinoin acid หรือกรดวิตามินเอ ในรูปแบบทาก็สามารถใช้ได้นะครับแต่ Medicare แทบไม่ค่อยใช้เนื่องจากมีอาการระคายเคืองแห้งแดงลอกเป็นอย่างมากการสะกิดสิวกดสิวก็เพียงพอที่จะจัดการทำให้หัวสิวหลวมหลุดออกได้ง่าย หลายๆท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์รับประทานยากรด
วิตามินเอ อยู่ในชื่อการค้าต่างๆ Medicare เองหลีกเลี่ยงการใช้กรดวิตามินเอในรูปแบบการรับประทาน เนื่องจากมีผลเสียคือทำให้เกิดตับอักเสบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวซึ่งมีโอกาสที่จะดื่มแอลกอฮอล์สังสรรค์ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับอยู่แล้ว หากรับประทานยากรดวิตามินเออาจทำให้ตับอักเสบรุนแรงเพิ่มขึ้นและเป็นภาวะตับแข็งในอนาคตนอกจากนี้การให้กรดวิตามินเอรักษาหากกรณีสตรีท่านนั้นซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ขาดความเข้าใจในการคุมกำเนิดและมีการตั้งครรภ์โดยไม่ทราบรับประทานกฎวิตามินเอเข้าไปเพื่อรักษาสิว อาจมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ Medicare Clinic จึงแทบไม่แนะนำให้ใช้ยกเว้นในรายที่มีความจำเป็นจริงๆซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
Copyright ® 2024 medicare.co.th
ต้นแบบการปรับรูปหน้าด้วย
"BOTULINUM TOXIN"
ติดต่อเรา / Contact Us
3230 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
: 02 319 2525
: https://www.facebook.com/medicareclinic
: @medicare_clinic
LINE : @medicareclinic
TIKTOK : @medicare.clinic
Clinic Service
________________________________
Copyright ® 2024 - medicare.co.th
Message us